สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อต้องแปลเอกสารทางกฎหมาย

อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือน “ประตูสู่โลก” สำหรับบริษัทแปลเอกสารทางกฎหมายกับลูกค้าในยุคดิจิทัล แต่การแยกแยะผู้เล่นที่น่าเชื่อถือจากคนที่ไม่น่าเชื่อถือในยุคนี้ทำได้ยาก ยิ่งเจอแต่ “คำโฆษณาชวนเชื่อ” ยิ่งไปกันใหญ่

ปัจจุบันลูกค้าทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริษัทแปลเอกสารที่มีคุณภาพ ซึ่งหลายแห่งอาจตั้งอยู่ต่างภูมิภาคหรือต่างประเทศ ทำให้ลูกค้ามักประเมินบริษัทแปลเอกสารเหล่านี้จากระยะไกล ผ่านโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ต

ลูกค้าจึงยากที่จะรู้ว่าจะคาดหวังบริการแบบไหน กระบวนการทำงานเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ทำให้บริษัทแปลเอกสารทางกฎหมายมีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ

ความท้าทายของการแปลเอกสารทางกฎหมาย

อย่าทำผิดพลาดเป็นลูกค้าประเภทที่มองการเจรจาและร่างสัญญาเป็นแค่ "ปัญหา" ที่ต้องรีบจัดการให้พ้นๆ ถ้าต้องการให้ทุกฝ่ายเข้าใจขอบเขตที่แท้จริงของสัญญา ควรใช้เวลาหาบริษัทแปลที่มีคุณภาพมาช่วยชี้แจงประเด็นทางกฎหมายให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แม้ลูกค้าที่ต้องการแปลเอกสารทางกฎหมายอย่างมีคุณภาพอาจไม่รู้วิธีเลือกบริษัทแปลเอกสารทางกฎหมายที่ดี

หัวใจสำคัญคือเข้าใจความท้าทายของนักแปลกฎหมายก่อนและเข้าใจว่าการแก้ปัญหาเหล่านี้ นักแปลต้องเข้าใจหลักการและแนวคิดทางกฎหมายของทั้งสองภาษา

ปัญหาเรื่องคุณภาพของเอกสารแปลรับรองมักเกิดขึ้นเมื่อสายเกินแก้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้จึงต้องเข้าใจความท้าทายของนักแปลเมื่อต้องแปลเอกสารทางกฎหมาย

แรงกดดันจากกำหนดเวลาของงานแปลกฎหมาย

          การทำความเข้าใจหลักการทางกฎหมายและตรวจสอบนั้นใช้เวลา โดยปกติแล้วบริษัทแปลเอกสารกฎหมายต้องการทำงานให้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา

          การแปลเอกสารนั้นเต็มไปด้วยความละเอียดอ่อนทางภาษาซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจระบบกฎหมายของทั้งสองประเทศ บริบททางสังคมที่แตกต่างกันของคู่สัญญาและอีกหลายปัจจัย

ปัญหาของแนวคิดที่ “แปลไม่ได้”

          บางศัพท์เฉพาะทางกฎหมายมีความเฉพาะเจาะจงต่อระบบกฎหมายของตนเอง ทำให้ถูกมองว่า “แปลไม่ได้” เนื่องจากแนวคิดทางกฎหมายที่อยู่เบื้องหลังมีความแตกต่างกันอย่างมาก ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ “Habeas Corpus (คำสั่งศาล)” ที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ไม่มีอยู่ในประเทศอื่น หรือมีความหมายที่แตกต่างออกไป

          ตัวอย่างอีกประเด็นคือคำว่า “Consideration (สิ่งตอบแทน)” ที่ใช้ในสัญญาตามกฎหมายสามัญ (Common Law) ของอเมริกา “Consideration (สิ่งตอบแทน)” เป็นหลักการสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลายฉบับในอเมริกา ซึ่งการแปลคำนี้ไปเป็นภาษาอื่นโดยตรงนั้นไม่สามารถถ่ายทอดความหมายได้อย่างครบถ้วน   จำเป็นต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียด

ภาษาถ้อยคำทางกฎหมายและความแตกต่างตามภูมิภาค

          ภาษาถ้อยคำทางกฎหมายก็มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับภาษาทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งใช้แตกต่างกันในฝรั่งเศส แคว้นคิวเบก วอลโลเนีย เซเนกัล และพื้นที่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสอื่นๆ

          แม้แต่ภาษาถ้อยคำทางกฎหมายภายในภาษาเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกันได้ตามภูมิภาค ซึ่งความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นทางการ และโครงสร้างของระบบกฎหมาย คลังศัพท์ และสำนวนทางกฎหมาย

          ภาษาถ้อยคำทางกฎหมายยังสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกันของชุมชนนั้นๆ ด้วย

          คำว่า “Jurisprudencia” ไม่มีความหมายทางกฎหมายเดียวกันในเม็กซิโกและสเปน เช่นเดียวกับคำว่า “Consideration” ที่มีความหมายทางกฎหมายต่างกันในคอนเนคทิคัตและลอนดอน

หลักไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และศัพท์เฉพาะทาง ในงานแปลเอกสารรับรอง

          นอกเหนือจากคำศัพท์ เครื่องหมายวรรคตอนภายในบริบทของไวยากรณ์ก็สามารถเปลี่ยนความหมายได้เช่นกัน เช่นเดียวกับศัพท์เฉพาะทางที่ใช้ในแต่ละสาขา ซึ่งมุ่งเน้นการสื่อความหมายที่ละเอียดอ่อนและชี้แจงความคลุมเครือ

กุญแจสำคัญของงานแปลรับรองคุณภาพ คือ ความชัดเจน ความชัดเจนเกิดขึ้นได้จากความเข้าใจของนักแปลในหลักไวยากรณ์  เครื่องหมายวรรคตอนและความรู้ด้านศัพท์เฉพาะทางที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งมันคือหัวใจสำคัญของงานแปลเอกสารรับรองที่ดี

แนวคิดทางกฎหมาย

          เนื่องจากแนวคิดทางกฎหมายมีผลกระทบต่อการดำเนินงานภายในระบบกฎหมาย ดังนั้นบางครั้งการแปลเอกสารทางกฎหมายจำเป็นต้องมีคำอธิบายประกอบเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายนั้นเข้าใจผลกระทบทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น

ความชำนาญ

ความชำนาญคือหัวใจสำคัญเพื่อให้ความหมายของภาษา ศัพท์เฉพาะ แนวคิด ระบบ ฯลฯ ทางกฎหมาย  ระหว่างสองสังคมสามารถเข้าใจได้โดยทุกฝ่าย

แม้จะมีความรู้ภาษาขั้นสูงก็ไม่ได้การันตีว่าจะแปลได้สำเร็จเสมอไป ความเข้าใจในความลึกซึ้งควบคู่ไปกับ ความรู้เชิงลึกในเนื้อหาที่แปลต่างหากที่สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง

ดังนั้นเราควรพิจารณาอะไรบ้างในการหาบริการแปลเอกสารทางกฎหมาย? ประสบการณ์ที่โชกโชนในงานแปลและความรู้ด้านภาษาที่แข็งแกร่งในทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านกฎหมาย

การแปลและการจัดการโครงการ

          การทำวิจัยซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำความเข้าใจข้อความต้นฉบับมักจะเป็นลำดับแรกของกระบวนการแปลเพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ บางครั้งสำหรับโครงการแปลที่มีความยากเป็นพิเศษอาจมีการปรึกษาแหล่งข้อมูลภายนอกเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือแบ่งงานแปลโดยทีมนักแปล

ในกรณีที่ศัพท์เฉพาะหรือความคิดบางอย่างดูเหมือนว่าจะแปลตรงตัวไม่ได้ บางทีมงานอาจใช้วิธีการสรรค์สร้างใหม่ ซึ่งหมายถึงการตีความและถ่ายทอด “แนวคิดที่แปลไม่ได้” โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ความชัดเจนระหว่างสองภาษาเกิดขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทีมแปลที่มีคุณภาพจะมีผู้จัดการโครงการทำหน้าที่ดูแลหลายด้าน เช่น กระบวนการแก้ไข การสื่อสารกับลูกค้า และการควบคุมคุณภาพขั้นสุดท้าย

บริการแปลภาษาและบริการเสริม

การรับรองเอกสารแปลโดยการประทับตราและการรับรองเอกสารมักเป็นขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้เอกสารแปลสามารถใช้ยื่นต่อศาลได้รับการยอมรับในชั้นศาล

บางครั้งผู้ให้บริการแปลอาจใช้บริการเสริมเพื่อให้เอกสารแปลที่ผ่านการรับรอง ดูเรียบร้อย สวยงามและดูเป็นมืออาชีพ

ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่บริษัทแปลเอกสารทางกฎหมายทุกแห่งคำนึงถึงเมื่อรับงานแปลเอกสารเพื่อนำไปรับรอง หวังว่าความรู้เหล่านี้จะช่วยให้คุณประเมินคุณภาพของทีมแปลได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตอนพูดคุยกับทีมแปลหรืออ่านผลงานแปลของพวกเขา

หากต้องการนักแปลเอกสารด้านกฎหมาย ติดต่อ cs.seaproti@gmail.com หรือโทร +66 2 114 3128 หรือเข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ https://seaproti.com/

--- 

เกี่ยวกับสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters - SEAProTI)

  • สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสมาคมวิชาชีพ ตั้งอยู่ที่ 33 อาคารบ้านราชครูห้อง 402 ซ.พหลโยธิน 5 ถ.พหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 จดทะเบียนเลขที่ 6037/2564 กับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และประกาศในราชกิจจานุกเบกษา อันเป็นที่ยอมรับของรัฐบาลและหน่วยงานราชการไทย เมือปี 2564
  • "นักแปลรับรอง (Certified Translaors)" และ "ล่ามรับรอง (Certified Interpreters)" ของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จดแจ้งเป็นนักแปลรับรองและล่ามรับรอง ตามข้อบังคับ ข้อที่ 9 ว่าด้วย นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง โดยเป็น "ผู้มีใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง ในนามสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
  • อาศัยความตามข้อที่ 46.1 และ 46.3 ของข้อที่ 46 หมวดที่ 9 ในข้อบังคับสมาคมวิชาชีพ ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 227 เล่ม 138 ตอนที่ 83 ง ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2564 แห่งราชอาณาจักรไทย นั้น นักแปลรับรองและผู้รับรองการแปลต้องกระทำการแปลและรับรองการแปล ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดในข้อที่ 47.1 และ 47.2 ของข้อที่ 47 หมวดที่ 10 ว่าด้วย ตราประทับนักแปล และข้อที่ 48 ว่าด้วย การรับรองการแปล

© 2021-2024

SEAProTI

Tel: (+66) 2-114-3128 ( Office Hours: 9.00–17.00 HRs/Monday to Friday )
Headquarters: 33 Baan Rajakhru Building, Room 402, Soi Phahonyothin 5, Phahonyothin Road, Phayathai Sub-district, Phayathai District, Bangkok 10400 Thailand.


SEAProTI is a professional association with the Registration Number "Jor. 6037/2564", registered with the Department of Provincial Administration (DoPA) under the Ministry of Interior in the Kingdom of Thailand.

Copyrights © 2021 - by SEAProTI.org