SEAProTI Interpreters in Legal Proceedings: Licenses and the Role of the Court The Use of Interpreters in SEAProTI Proceedings

Witnesses in civil and criminal cases, as well as legal proceedings involving non-Thai speakers and writers, are required to have an interpreter present in order to facilitate communication. Interpreters are of paramount importance in facilitating efficient communication for the witnesses. It is required that interpreters possess fluency in both the language of the witness and their native tongue. A comprehensive understanding of the law and legal procedures is essential for interpreters.

 

Licensing Requirements for Interpreters:

At present, Thailand lacks national legislation mandating the licensing of judicial interpreters. Every professional interpreter, according to the Southeast Asian Professional Interpreters and Translators Association (SEAProTI), is required to possess a "License to Practice as an Interpreter."

 

Interpreters from SEAProTI must be well-versed in the work process, legal procedures, and other pertinent details. Such knowledge instills confidence in the courtroom that the interpretation will be precise and devoid of any omissions, additions, or alterations of meaning.

 

SEAProTI interpreters must:

  • Successfully complete the Intermediate Legal and Medical Interpreter Training Course, which spans a duration of 48 hours.
  • After successfully completing this required training, they are required to pass a level-assessing knowledge exam. 1) A general knowledge examination encompassing legal and medical interpreting as well as professional ethics; and 2) A skills assessment comprising practical demonstrations of interpreting in arbitration, civil and criminal cases, hospitals, and public health.
  • After satisfying the 70-79=C2 and 80-100=C3 requirements, they are obligated to submit their certification application to the peer review system. This process entails obtaining two endorsements: 1) a general member of the Board of Trustees, and 2) a practitioner in the same field and at the same certification (prior to the peer certification, the secretary of the association shall publish the list of names of candidates on the organization's online portal, allowing other members 15 days to raise objections to the qualifications of the candidates). 
  • Upon obtaining certification, SEAProTI will provide the interpreter with a "License to Practice as an Interpreter" and a name tag with a lanyard to facilitate courtroom duties (association pins and suits are optional; however, it is customary to use them for significant events or ceremonies in which the organization collaborates with government agencies).

 

The Role of the Court Toward SEAProTI Interpreters:

  • Particularly for SEAProTI interpreters, the court should verify the license of the interpreter prior to the start of the hearing.

 

Benefits of using licensed interpreters:

  • Prioritize efficient communication with the witness.
  • Preserve the integrity of legal proceedings.
  • Ensure that the translation of languages is precise and accurate.
  • Ensure that the credentials of SEAProTI interpreters are adequate for this type of interpreting.
  • Ensure that the interpreters of SEAProTI are well-versed in legal principles and procedures.

 

Drawbacks of Using Unlicensed Interpreters:

  • May impede witnesses' ability to communicate effectively.
  • Unfair legal proceedings may result.
  • Potentially leading to erroneous linguistic translation.

 

SEAProTI Professional Membership:

Members of SEAProTI must: 

  • Participate in training programs to acquire and maintain knowledge from the 10 CPD points per year; membership is valid for three years.
  • Particularly for pertinent employment, submit ten samples of your work annually. Both translators and interpreters are required to submit their respective work.
  • Renewal of membership is contingent upon the accumulation of CPD credits and work samples. 

 

Conclusion:

Interpreters are of paramount importance in facilitating efficient communication for the witnesses. Licensed SEAProTI interpreters are required. It is the duty of the court to ascertain the credentials of the interpreters.

 

At present, there is a growing trend among justices to request interpreter licenses or certificates. The association wishes to extend its gratitude to all judges for their assistance and for aiding in the organization of all professions, as is the case in other nations. We will organize the system in accordance with international standards so that foreigners can have confidence that the Thai justice system is still supported by an organization that builds its credibility and ensures that it remains international. This will allow foreigners to invest in Thailand without the same concerns they once had regarding the Thai justice system.

 

In addition, clients will recommend the interpreters to others and provide the interpreters' phone numbers to other clients if we perform our duties with diligence and respect.

 

[Thai] 

ล่ามในงานสืบพยานของ SEAProTI: ใบอนุญาตและบทบาทของศาล

การใช้ล่ามในงานสืบพยานของ SEAProTI:

ในคดีแพ่งและคดีอาญา หรือในกระบวนยุติธรรมต่าง ๆ ที่มีคู่กรณีเป็นชาวต่างชาติที่ไม่สามารถพูดหรือเขียนภาษาไทยได้ จำเป็นต้องใช้ล่ามเพื่อสื่อสารให้พยานเข้าใจกระบวนการสืบพยาน ล่ามมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้พยานสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่ามต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและภาษาของพยาน ล่ามต้องมีความเข้าใจกฎหมายและกระบวนการสืบพยาน

ใบอนุญาตสำหรับล่าม:

ปัจจุบัน ยังไม่มี พรบ. ซึ่งเป็นกฎหมายระดับชาติของไทยที่กำหนดให้ล่ามในศาลต้องมีใบอนุญาต แต่สำหรับสมาคมวิชาชีพและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ล่ามวิชาชีพทุกคนจะต้อง "เป็นผู้มีใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพล่ามฯ" เนื่องจากเป็นงานสำคัญ และล่ามของ SEAProTI ทุกคนจำเป็นต้องรู้กระบวนการทำงาน รู้กระบวนพิจารณาคดี ฯลฯ อันจะทำให้ผู้คนในห้องพิจารณาคดีไว้วางใจได้ว่า ล่ามจะแปลได้ถูกต้อง แปลไม่ตัด แปลไม่เติม และไม่เปลี่ยนแปลงความหมาย 

ล่ามที่แปลในศาลของ SEAProTI จะต้อง: 

  • เมื่อได้ผลสอบที่ผ่านเกณฑ์ 70-79=C2 และ 80-100=C3 แล้ว ให้ยื่นเอกสารสมัครเพื่อรับการรับรองโดยระบบรับรองด้วยผู้ที่มีความรู้เสมอกัน (Peer Certification) ซึ่งจะต้องมีผู้รับรอง 2 คน คือ 1) กรรมการสมาคม และนักวิชาชีพที่ประกอบวิชาชีพเดียวกันและในระดับเดียวกัน (แต่ก่อนจะให้ผู้ที่มีความรู้เสมอกันรับรอง เลขานุการจะต้องประกาศรายชื่อไว้ที่เพจของสมาคมเพื่อให้สมาชิกอื่นได้คัดค้านคุณสมบัติเสียก่อนในภายใน 15 วัน)
  • ผ่านการอบรมหลักสูตรล่ามกฎหมายและการแพทย์ ระดับ Intermediate จำนวน 48 ชั่วโมง 
  • เมื่อผ่านการอบรมหลักสูตรภาคบังคับนี้แล้ว จะต้องสมัครเข้ามาทดสอบความรู้เพื่อวัดระดับ โดยข้อสอบจะมี ส่วนคือ 1) ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการล่ามกฎหมายและการแพทย์ และจรรยาบรรณวิชาชีพล่าม และ 2) ทดสอบวัดความถนัดในวิชาชีพ เช่น สาธิตการทำล่ามในคดีแพ่ง คดีอาญา งานอนุญาโตตุลาการ และงานล่ามในโรงพยาบาลและงานสาธารณสุข
  • เมื่อผ่านการรับรองแล้ว ทางสมาคมจึงจะออก "ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพล่ามฯ" ได้ และได้บัตรห้อยคอ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในศาล (เสื้อสูทของสมาคมและเข็มของสมาคมอาจสามารถใส่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้ แต่ไมไ่ด้บังคับ เน้นใส่ในงานสำคัญหรืองานราชพิธีที่สมาคมเข้าร่วมกับหน่วยงานราชการในโอกาศต่าง ๆ)  

บทบาทของศาลต่อล่าม SEAProTI:

ศาลควรขอดูใบอนุญาตของล่าม โดยเฉพาะล่ามของ SEAProTI ก่อนเริ่มงานสืบพยาน

ข้อดีของการใช้ล่ามที่มีใบอนุญาต:

  • คุณสมบัติของล่าม SEAProTI เหมาะในการทำล่ามประเภทดังกล่าว
  • ช่วยให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการสืบพยานเป็นธรรม
  • ช่วยให้มั่นใจได้ว่าพยานสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคำแปลภาษาถูกต้องและแม่นยำ
  • มั่นใจได้ว่า ล่ามของ SEAProTI มีความเข้าใจกฎหมายและกระบวนการสืบพยาน

ข้อเสียของการใช้ล่ามที่ไม่มีใบอนุญาต:

  • อาจทำให้กระบวนการสืบพยานไม่เป็นธรรม
  • อาจทำให้พยานสื่อสารได้ไม่เต็มที่
  • อาจทำให้คำแปลภาษาผิดพลาด

การเป็นนักวิชาชีพของ SEAProTI:

  • จะต้องส่งตัวอย่างผลงาน 10 ตัวอย่างในแต่ละปี เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เป็นล่ามก็ต้องส่งงานล่าม และเป็นนักแปลก้ต้องส่งผลงานแปล
  • สมาชิกภาพของนักวิชาชีพ SEAProTI จะมีอายุ 3 ปี และสมาชิกจะต้อง
  • เข้าร่วมอบรมเพื่อฝึกฝนและเก็บความรู้จากโปรแกรม CPD ให้ได้ปีละ 10 แต้ม
  • การต่ออายุสมาคมจะขึ้นอยู่กับ แต้ม CPD และตัวอย่างงานที่ครบถ้วนเท่านั้น

 สรุป:

  • ล่ามในงานสืบพยานของ SEAProTI จำเป็นต้องมีใบอนุญาต
  • ล่ามมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้พยานสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของล่าม

สำหรับท่านใดที่จะขอบัตรล่ามหรือใบอนุญาตล่าม และขอเลย ทางสมาคมไม่สามารถออกบัตรหรือใบอนุญาตใด ๆ ให้ได้ ทั้งสิ้น เพราะทุกคนจะต้องเข้าสู่กระบวนการของเราทั้งหมดก่อน และไม่มีข้อยกเว้นให้ใครทั้งสิ้น เพราะสมาคมจะต้องทำหน้าที่ของเราที่ให้คำมั่นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดไว้

ปัจจุบัน ผู้พิพากษาถามหาใบอนุญาตฯ หรือบัตรล่าม กันมากขึ้น ทางสมาคมต้องขอกราบขอบพระคุณผู้พิพากษาทุกท่าน ที่ช่วยกัน และช่วยเรา ทำให้ทุกวิชาชีพเข้าที่เข้าทางเหมือนในต่างประเทศ และเราจะได้จัดระบบให้เทียบเท่าสากล เพื่อให้ต่างชาติได้มั่นใจว่า กระบวนการยุติธรรมไทยยังมีอีกหนึ่งองค์กรที่ช่วยรักษาระบบให้เป็นสากล และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับต่างชาติ และสร้างความเชื่อมันให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างที่เคยเป็น

และนอกจากนี้ หากเราทำงานดี ใส่ใจในหน้าที่ ลูกค้าก็จะปากต่อปาก และส่งต่อหมายเลขโทรศัพท์ของเราให้ลูกค้าคนอื่น ๆ ไปด้วย 

 

สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ห้อง 402 เลขที่ 33 อาคารบ้านราชครู ซ.พหลโยธิน 5 ถ.พหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (นัดหมายเพื่อเข้ามาที่สำนักงานก่อนเสมอ)

อีเมล: seaproti@gmail.com

โทร: 02-114-3128 (เปิดทำการจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น.)

เว็บไซต์: https://www.seaproti.org/home

#ประกาศนักแปลและล่ามรับรอง #SEAProTICertifiedTranslator #SEAProTICertifiedInterpreter

© 2021-2024

SEAProTI

Tel: (+66) 2-114-3128 ( Office Hours: 9.00–17.00 HRs/Monday to Friday )
Headquarters: 33 Baan Rajakhru Building, Room 402, Soi Phahonyothin 5, Phahonyothin Road, Phayathai Sub-district, Phayathai District, Bangkok 10400 Thailand.


SEAProTI is a professional association with the Registration Number "Jor. 6037/2564", registered with the Department of Provincial Administration (DoPA) under the Ministry of Interior in the Kingdom of Thailand.

Copyrights © 2021 - by SEAProTI.org