SEAProTI.org
: Omission in Court Interpreting: A Strategy from a FL Perspective

Omission in Court Interpreting: A Strategy from a FL Perspective

Omission in Court Interpreting: A Strategic Interpretation from a Forensic Linguistics Perspective

Published: 14 May 2025

The academic article titled “Omission in Court Interpreting: A Strategic Interpretation from a Forensic Linguistics Perspective” presents an in-depth study of the use of omission techniques in court interpreting. In Thai, this concept may be referred to as omission, skipping, or non-translation. The findings reveal that omission should not automatically be considered an error, but rather a deliberate strategy to enhance clarity, reduce confusion, and maintain communication efficiency without compromising the accuracy of legal information. Drawing on the theoretical frameworks of forensic linguistics and interpreting studies, combined with real case studies from both Thai and international courts, the research demonstrates how forensic linguistic knowledge supports interpreters’ ethical decision-making and minimizes the risk of misinterpretation during legal proceedings. The article also recommends practical guidelines for improving court interpreter training curricula by incorporating skills such as discourse analysis, cognitive load assessment, and professional ethical judgment when strategic omission is deemed necessary.

Keywords: court interpreting, omission strategy, forensic linguistics, interpreter ethics, legal discourse, bilingual courtroom communication

About the Author:

Wanitcha Sumanat is a professional translator and interpreter with significant influence in Thailand and Southeast Asia. Wanitcha currently serves as President of the Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI), promoting professional standards, certification, and ethics across the region.

Wanitcha acts as a mediator at the Thailand Arbitration Center (THAC) and is also accredited as a mediator by the Ministry of Justice, Royal Thai Police, and the Ministry of Defence. Additionally, Wanitcha is a registered Expert in Forensic Linguistics, assisting government and private agencies with linguistic evidence analysis.

Wanitcha lectures and conducts training in translation and interpreting, and serves on the Thai Senate’s Committee on Education and International Affairs, working to elevate the Thai translation and interpreting profession to global standards.

SEAProTI’s certified translators, translation certification providers, and certified interpreters:

The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI) has officially announced the criteria and qualifications for individuals to register as “Certified Translators,” “Translation Certification Providers,” and “Certified Interpreters” under the association’s regulations. These guidelines are detailed in Sections 9 and 10 of the Royal Thai Government Gazette, issued by the Secretariat of the Cabinet under the Office of the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, dated July 25, 2024, Volume 141, Part 66 Ng, Page 100.

To read the full publication, visit: the Royal Thai Government Gazette  

การละเว้นไม่แปล (Omission) ในงานล่ามศาล: กลยุทธ์การตีความจากมุมมองนิติภาษาศาสตร์

ตีพิมพ์: 14 พฤษภาคม 2568

บทความวิชาการเรื่อง “การละเว้นไม่แปล (Omission) ในงานล่ามศาล: กลยุทธ์การตีความจากมุมมองนิติภาษาศาสตร์” นำเสนอการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิคการละเว้น (omission) ในบริบทของการล่ามศาล ซึ่งในภาษาไทยอาจเข้าใจได้ว่าเป็นการแปลตก การแปลข้าม หรือการไม่แปล ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการละเว้นไม่จำเป็นต้องเป็นข้อผิดพลาดเสมอไป หากล่ามใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความชัดเจน ลดความสับสน และรักษาประสิทธิภาพของการสื่อสารในศาล โดยไม่ลดทอนคุณภาพของการถ่ายทอดสาระสำคัญ งานวิจัยนี้ใช้กรอบการวิเคราะห์ของนิติภาษาศาสตร์ (forensic linguistics) และทฤษฎีการล่าม ผนวกกับการศึกษากรณีจริงในศาลไทยและต่างประเทศ พบว่าความรู้ด้านนิติภาษาศาสตร์ช่วยเสริมการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของล่ามและลดความเสี่ยงในการเกิดความคลาดเคลื่อนของความหมายในกระบวนการพิจารณาคดี บทความยังเสนอแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมล่ามศาล ให้เพิ่มทักษะการวิเคราะห์วาทกรรม การประเมินภาระทางความคิด และการใช้ดุลพินิจเชิงจริยธรรมอย่างเหมาะสมเมื่อจำเป็นต้องใช้การละเว้นอย่างมีจุดมุ่งหมาย

คำสำคัญ: ล่ามศาล, กลยุทธ์การละเว้น, นิติภาษาศาสตร์, จริยธรรมล่าม, วาทกรรมกฎหมาย, การสื่อสารสองภาษาในศาล 

เกี่ยวกับผู้เขียน: 

วณิชชา สุมานัส เป็นนักแปลและล่ามวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ซึ่งส่งเสริมมาตรฐาน การรับรองคุณวุฒิ และจริยธรรมของนักแปลและล่ามในภูมิภาค

วณิชชายังทำหน้าที่เป็นผู้ประนอมข้อพิพาทที่ศูนย์อนุญาโตตุลาการไทย (THAC) ผู้ไกล่เกลี่ยประจำกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงกลาโหม รวมถึงขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติภาษาศาสตร์ (Expert in Forensic Linguistics) ให้คำปรึกษาและตรวจสอบหลักฐานภาษากับหน่วยงานรัฐและเอกชน

วณิชชายังมีบทบาทด้านการบรรยายและฝึกอบรมในหลักสูตรการแปลและการล่าม และได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานวุฒิสภาไทยด้านการศึกษาและการต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนวิชาชีพนักแปลและล่ามไทยสู่มาตรฐานสากล

เกี่ยวกับนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “นักแปลรับรอง (Certified Translators) และผู้รับรองการแปล (Translation Certification Providers) และล่ามรับรอง (Certified Interpreters)” ของสมาคม หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในราชกิจจานุเบกษา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 25 ก.ค. 2567 เล่มที่ 141 ตอนที่ 66 ง หน้า 100 อ่านฉบับเต็มได้ที่: นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง  

CHANGE LANGUAGE
Powered by
SEAProTI.org
An initiative to raise professional standards of translators and interpreters in Southeast Asia
Reload Page
Copy Link