SEAProTI.org
: Guidelines for Translated, Legalized Thai Documents for Use in China

Guidelines for Translated, Legalized Thai Documents for Use in China

Guidelines for Translation and Legalization of Thai Documents for Use in the People’s Republic of China (Excluding Taiwan)

15 May 2025, Bangkok – There have been frequent inquiries regarding the process of using Thai documents in the People’s Republic of China. To ensure the documents are legally recognized and valid for use, the following procedures must be strictly followed.
Case 1: Official and Administrative Documents
Examples of Documents

  • Civil registration documents or personal documents: House registration, national ID card, birth certificate, death certificate, etc.
  • Official documents from government agencies and corporate documents or legal entity documents: Court orders, public prosecutor documents, business registration certificates, etc.

Procedures

  • Translate the original Thai document into English.
  • Submit the translated document and the original for legalization at the Department of Legalization and Nationality, Consular Affairs Division, Ministry of Foreign Affairs of Thailand
  • Once legalized, submit the documents for authentication for use in China at:
    Chinese Visa Application Service Center
    5th Floor, Thanapoom Tower,
    1550 New Petchburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand
    Tel: +66-2-2550681
    Email: bangkokcentre@visaforchina.org
    Office hours:
    9:00–15:00 Document submission
    9:00–16:00 Payment and document collection

If a Chinese language version is required:

  • After legalization and authentication, the English document must be translated into Chinese by an authorized translator or translation company in China.
  • Please consult the Chinese Embassy or the relevant institution in China for a list of recognized translators, as a national association of translators and interpreters in China works in collaboration with various government ministries to certify professional translators.

Case 2: Documents Issued by Thai Private Entities
Examples of Documents

  • Power of attorney for legal representation or inheritance cases in China
  • Power of attorney to dissolve a company in China
  • Power of attorney to appoint a guardian for a child studying in China, etc.

Important Notes
These documents should be drafted in English directly. If initially prepared in Thai, they must be translated into English, and the English version will be considered the original document. The Thai version will serve only as a draft and does not need to be attached.

Procedures

  • Submit the English document for legalization at the Department of Legalization and Nationality, Consular Affairs Division, Ministry of Foreign Affairs of Thailand
  • Submit the legalized document for authentication for use in China at:
    Chinese Visa Application Service Center
    5th Floor, Thanapoom Tower,
    1550 New Petchburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand
    Tel: +66-2-2550681
    Email: bangkokcentre@visaforchina.org
    Office hours:
    9:00–15:00 Document submission
    9:00–16:00 Payment and document collection

If a Chinese language version is required:
The English document (already legalized and authenticated) must be translated into Chinese by an authorized translator or translation company in China. Consultation with the Chinese Embassy or relevant Chinese authorities is recommended for an updated list of certified translation providers.
Additional Remarks
All documents must undergo legalization and authentication by both Thai and Chinese authorities. Chinese translation should be completed within China to ensure compliance with government and private sector regulations.

SEAProTI’s certified translators, translation certification providers, and certified interpreters:

The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI) has officially announced the criteria and qualifications for individuals to register as “Certified Translators,” “Translation Certification Providers,” and “Certified Interpreters” under the association’s regulations. These guidelines are detailed in Sections 9 and 10 of the Royal Thai Government Gazette, issued by the Secretariat of the Cabinet under the Office of the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, dated July 25, 2024, Volume 141, Part 66 Ng, Page 100.

To read the full publication, visit: the Royal Thai Government Gazette  

แนวทางการแปลและการรับรองเอกสารภาษาไทยเพื่อใช้ในประเทศจีน (ไม่รวมไต้หวัน)

15 พฤษภาคม 2568, กรุงเทพมหานคร – มีถามกันเข้ามาบ่อย ๆ มากเรื่องการนำเอกสารจากประเทศไทยไปใช้ในประเทศจีน ซึ่งร้านแปลสวัสดิการของกรมการกงสุลเล่าให้ฟังว่า จะต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อให้เอกสารสามารถนำเอาไปใช้ในประเทศจีนได้ ไม่งั้นจะแปลไปเปล่าประโยชน์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
1. เอกสารทางราชการ (Official Documents) และเอกสารเพื่อใช้ในงานปกครอง (Administrative Documents) จากประเทศไทย ได้แก่

  • เอกสารเพื่อใช้ในงานปกครอง หรือเอกสารทะเบียนราษฎร์ หรือเอกสารเอกสารของบุคคลทั่วไป: ทะเบียนบ้าน, บัตรประชาชน, สูติบัตร, มรณบัตร ฯลฯ
  • เอกสารจากหน่วยงานราชการ เอกสารของบริษัท หรือ เอกสารของนิติบุคคล เช่น ศาล, อัยการ, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ หนังสือบริคณฑ์สนธิ ฯลฯ

ขั้นตอนดำเนินการ

  • แปลเอกสารจาก ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
  • นำเอกสารที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วพร้อมต้นฉบับ ไปขอ นิติกรณ์ (Legalization) ที่ กองนิติกรณ์และสัญชาติ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  • จากนั้น ยื่นเอกสารดังกล่าวเพื่อ รับรองเอกสาร สำหรับใช้ในจีน ที่
    • Chinese Visa Application Service Center
    • ชั้น 5 อาคาร Thanapoom Tower, 1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
    • โทร: 0066-2-2550681
      แฟกซ์: 0066-2-2075988, 2075933
      อีเมล: bangkokcentre@visaforchina.org
      เวลาทำการ (ยกเว้นวันหยุด):
      9:00–15:00 รับคำร้องขอวีซ่า
      9:00–16:00 ชำระเงินและรับเอกสาร

ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องใช้ เอกสารฉบับภาษาจีน เพื่อนำไปใช้ในประเทศจีน ให้ดำเนินการดังนี้ 

  • ให้นำเอกสารฉบับภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการนิติกรณ์และรับรองจาก China Visa Application Service Center แล้ว ข้างต้น นำไปแปลเป็นภาษาจีน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาต หรือบริษัทแปลที่ได้รับอนุญาตในประเทศจีน อันนี้ต้องสอบถามจากสถานทูตจีนหรือผู้ใช้ที่ประเทศปลายทางเอาค่ะ เพราะปัจจุบัน ในประเทศจีนมี สมาคมวิชาชีพรับรองนักแปลและล่ามระดับชาติ ที่ทำงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ในประเทศจีนอยู่แล้ว เพื่อใช้ยื่นต่อหน่วยงานราชการหรือเอกชนในประเทศจีน 

2. เอกสารที่จัดทำโดยเอกชนไทย เช่น

  • หนังสือมอบอำนาจให้ทนายความจัดการมรดกในจีน
  • หนังสือมอบอำนาจให้ปิดบริษัทในจีน
  • หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลดูแลบุตรที่เรียนอยู่ในจีน ฯลฯ

หรือพูดง่าย ๆ คือเอกสารที่ไม่ใช่เอกสารราชการหรือเอกสารเพื่อใช้ในงานปกครองในข้อ 1 ทั้งหมด ซึ่งเอกสารเหล่านี้ ไม่ถือเป็นเอกสารแปล” โดยให้ดำเนินการดังนี้

  • เอกสารเหล่านี้ควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษโดยตรงเพื่อใช้เป็นต้นฉบับจริง หากจัดทำเป็นภาษาไทยก่อน ให้นักแปลหรือบริษัทแปล แปลเป็น ภาษาอังกฤษ และให้ถือว่าฉบับภาษาอังกฤษเป็น ต้นฉบับ (ไม่ต้องใช้ฉบับภาษาไทยแนบ ให้ถือว่า ฉบับภาษาไทยเป็นฉบับร่างเท่านั้น)

ขั้นตอนดำเนินการ

  • นำเอกสารภาษาอังกฤษที่ทำขึ้น หรือแปลมาจากภาษาไทยข้างต้น ไปขอ นิติกรณ์ (Legalization) ที่ กองนิติกรณ์และสัญชาติ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  • จากนั้น นำเอกสารฉบับภาษาอังกฤษที่นิติกรณ์เอกสารเรียบร้อยแล้วนำไปยื่นเพื่อรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ในจีน ที่
    • Chinese Visa Application Service Center
    • ชั้น 5 อาคาร Thanapoom Tower, 1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
    • โทร: 0066-2-2550681
      แฟกซ์: 0066-2-2075988, 2075933
      อีเมล: bangkokcentre@visaforchina.org
      เวลาทำการ (ยกเว้นวันหยุด):
      9:00–15:00 รับคำร้องขอวีซ่า
      9:00–16:00 ชำระเงินและรับเอกสาร

ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องใช้ เอกสารฉบับภาษาจีน เพื่อนำไปใช้ในประเทศจีน ให้ดำเนินการดังนี้ 

  • ให้นำเอกสารฉบับภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการนิติกรณ์และรับรองจาก China Visa Application Service Center แล้ว ข้างต้น นำไปแปลเป็นภาษาจีน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาต หรือบริษัทแปลที่ได้รับอนุญาตในประเทศจีน อันนี้ต้องสอบถามจากสถานทูตจีนหรือผู้ใช้ที่ประเทศปลายทางเอาค่ะ เพราะปัจจุบัน ในประเทศจีนมี สมาคมวิชาชีพรับรองนักแปลและล่ามระดับชาติ ที่ทำงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ในประเทศจีนอยู่แล้ว เพื่อใช้ยื่นต่อหน่วยงานราชการหรือเอกชนในประเทศจีน 

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

  • เอกสารทุกประเภทต้องผ่านกระบวนการนิติกรณ์และรับรองเอกสารจากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน
  • การแปลเป็นภาษาจีน ควรดำเนินการในประเทศจีนเพื่อความถูกต้องตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการหรือเอกชนจีน

เกี่ยวกับนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “นักแปลรับรอง (Certified Translators) และผู้รับรองการแปล (Translation Certification Providers) และล่ามรับรอง (Certified Interpreters)” ของสมาคม หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในราชกิจจานุเบกษา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 25 ก.ค. 2567 เล่มที่ 141 ตอนที่ 66 ง หน้า 100 อ่านฉบับเต็มได้ที่: นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง  

CHANGE LANGUAGE
Powered by
SEAProTI.org
An initiative to raise professional standards of translators and interpreters in Southeast Asia
Reload Page
Copy Link